กิจกรรมวันนี่22-26 พฤศจิกายน พ.ศ.2553

ส่งงาน



   มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้  แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ 1.มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม  อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ

การเกิดมิวเทชัน
การเกิดการมิวเทชันแบ่งออกได้เป็น  2  ชนิดคือ
1. มิวเทชันที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ  (spontaneous mutstion)อาจเกิดขึ้นเนื่องจากรังสี สารเคมี อุณหภูมิในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของ เบส(tautomeric shift)หรือการสูญเสียไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบส(ionization)ทำให้การจับ คู่ของเบสผิดไปจากเดิมมีผลทำให้เกิดการแทนที่คู่เบสแบบแทรนซิชันหรือทรา สเวอร์ชัน  ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไป  แต่อัตราการเกิดมิวเทชันชนิดนี้จะต่ำมากเช่น เกิดในอัตรา 10-6 หรือ10-5
2.การมิวเทชันที่เกิดจากการชักนำ(induced mutation)เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดจากมนุษย์ใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์(mutagen)ชักนำให้เกิดขึ้นซึ่งสิ่งก่อกลายพันธุ์

http://www.kik5.com/index.php?option=com_content&view=article&id=81:2009-03-19-06-30-35&catid=40:-7-&Itemid=61



พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง





โคลนนิ่ง คืออะไร ?



ตามความหมาย โคลนนิ่ง (Cloning) หมายถึงการคัดลอก หรือทำซ้ำ (copy) นั่นเอง สำหรับทางการแพทย์ หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน นั่นเอง กระบวนการโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไปในวงการเกษตร

แต่ข่าวที่เป็นที่น่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาตร์การแพทย์ไปทั่วโลก ได้แก่ การทำโคลนนิ่งแกะ ที่ชื่อว่า ดอลลี่ นับเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของวงการทีเดียวดอลลี่ เกิดมาได้ยังไง ?


การศึกษาเกี่ยวกับไวรัสของสัตว์มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสในมนุษย์และสัตว์เลี้ยง รวมทั้งปศุตว์ ซึ่งต้องพยายามปรับสภาพ (Adaptation) ของไวรัสให้สามารถเพาะเลี้ยงได้ในเซลล์เพาะเลี้ยง สัตว์ทดลอง หรือไข่ไก่ฟัก รวมทั้งมีการพยายามทำให้ไวรัสอ่อนฤทธิ์ลง (attenuation) โดยการ passage ในโอสต์ที่ไม่ใช่โฮสต์ตามธรรมชาติเพื่อที่จะได้สายพันธุ์ใหม่ของไวรัสนำไปทำเป็นวัคซีนชนิดตัวเป็น (live attenuated virus vaccine) ซึ่งเชื่อกันว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าวัคซีนตัวตาย (killed vaccine) ในการป้องกันโรค ขบวนการ adaptation และ attenuation เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของสายพันธุ์ไวรัส ซึ่งเกิดขึ้นได้เองทุกครั้งที่มีการเพิ่มจำนวนของไวรัส จากนั้นจึงมีการคัดเลือกไวรัสสายพันธุ์ใหม่ไปทำการทดลองต่อไปตามความเป็นจริงแล้วมีการนำขบวนการนี้ไปใช้อย่างได้ผลก่อนที่มนุษย์จะเรียนรู้กลไกในระดับโมเลกุลทางพันธุศาสตร์เสียอีก เช่นการทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าโดยปาสเจอร์ในปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจว่าขบวนการในการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ กรรมมีกลไกอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร ความรู้ทางพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล (molecular genetics) เริ่มขึ้นจากการศึกษาธรรมชาติและการเพิ่มจำนวนของไวรัสของแบคทีเรียจากนั้นจึงมีผู้เริ่มสนใจศึกษาไวรัสที่ก่อมะเร็งได้ในสัตว์ แล้วจึงมีการศึกษาไวรัสของสัตว์โดยทั่วไปไวรัสของแบคทีเรียถูกนำไปใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมศาสตร์อย่างกว้างขวาง และในปัจจุบันได้มีการนำวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีที่เตรียมจากยีสต์โดยเทคนิคพันธุวิศวกรรมนี้ไปใช้ในปัจจุบันอย่างได้ผล


ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ  คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน
กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม







ห่วงโซ่อาหาร (food chain)
        พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสง
ของดวงอาทิตย์  โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า  คลอโรฟิลล์  (chlorophyll)  เป็นตัวดูดกลืนพลังงาน
แสงเพื่อนำมาใช้ ในการสร้างอาหาร  เช่น  กลูโคส  แป้ง  ไขมัน  โปรตีน  เป็นต้น

        พืชจึงเป็นผู้ผลิต (producer)  และเป็นสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการถ่ายทอดพลังงาน
แบบห่วงโซ่อาหาร สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ไม่สามารถสร้าง อาหารเองได้  จำเป็นต้องได้รับพลังงาน
จากการบริโภค สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สัตว์จึงถือว่าเป็น ผู้บริโภค (consumer)  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นต้น
  • ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง (primary  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้ผลิต
  • ผู้บริโภคลำดับที่สอง  (secondary  consumer )  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง
  • ผู้บริโภคลำดับสูงสุด  (top  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่อยู่ปรายสุดของห่วงโซ่อาหาร
    ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตใด มากินต่อ  อาจเรียกว่า  ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/26/2/ecology/content/food_chain.html

แก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gases) คือแก๊สที่มีอยู่ในบรรยากาศที่ทำให้การสูญเสียความร้อนสู่ห้วงอวกาศลดลง จึงมีผลต่ออุณหภูมิในบรรยากาศผ่านปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81


สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าแบคทีเรีย (Bacteria) มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. ขนาดแบคทีเรียมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 1-5 ไมโครเมตร
2. รูปร่างของแบคที่เรียมี 3 ลักษณะคือ
    2.1 พวกรูปร่างกลมเรียกว่า คอกคัส(Coccus) ซึ่งอาจเป็นทรงรูปไข่ กลมแบน หรือยาวรี เมื่อแบ่งตัวเซลล์ที่ได้ใหม่ยังคงติดกับเซลล์เก่า
    2.2 พวกรูปร่างแท่งรียาวเรียกว่า บาซิลัส (Bacillus) บางชนิดอาจมีรูปร่างเป็นแท่งสั้นๆปลายมนเรียกว่า พวกคอกโคบาซิลัส (Coccobacillus)  เช่น เชื้อโครแอนแท็รกซ์(Bacillus anthrasis)
    2.3 รูปร่างเกลียวเรียกว่า สไปริลลัม(Spirillum) เช่นเชื้อโรคซิฟิลิส(Treponima palidum)
3. ผนังเซลล์(Cell wall) ของแบคทีเรียเป็นสารที่เรียกว่า เพปทิโดไกลแคน (Peptidoglycan) ซึ่งมีลักษณะเหมือนตาข่าย โดยการเกาะ กันของพอลิแซคาไรด์ที่เรียกว่า เอ็นแอซิติลกลูโคซามีน(N-acetyglucosamine) และเอ็นแอซิติมูรามิกแอซิด (N-acetylmuramic acid) ซึ่งเป็นส่วน ของคาร์โบไฮเดรตกับกรดอะมิโน จึงเรียกว่า เพปทิโดไกลแคน
4. เยื่อเซลล์(Cell membrane) เป็นสารพวก ฟอสฟอลิพิด(Phospholipid) และโปรตีนทำหน้าที่ในการคัดเลือกสารเข้าออกเซลล์ 5. ไรโบโซม(Ribosome) แบคทีเรียมีไรโบโซมซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีนเป็นชนิด 70s ไรโบโซมซึ่งมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบประมาณ 40% และRNA ประมาณ60%
6. แฟลเจลลา(Flagella) เป็นส่วนที่ยื่นออกจากเซลล์ที่ลักษณะคล้ายขนสั้นบ้างยาวบ้าง ทำหน้าที่โบกพัดทำให้เกิดการเคลื่อนที่ อาจมี 1เส้น 2 เส้นหรือหลายเส้นก็ได้ โดยทั่วไปทิศทางการเคลื่อนที่ของแบคทีเรียจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว
7. พิไล(Pill) มีลักษณะคล้ายแฟลเจลลาแต่สั้นและบางกว่า พิไลประกอบด้วยโปรตีนพิลิน(Pilin) เรียงตัวต่อกันเป็นท่อทำหน้าที่เป็นทางผ่าน ของสารพันธุกรรม ขณะที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
8. สารพันธุกรรม (Genetic material) แบคทีเรียมีสารพันธุกรรมเป็น DNA สายคู่ที่ไม่มีโปรตีนฮิสโทนเกาะและมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน (Circular DNA) เป็น DNA เปลือย(Naked DNA)
9. แคปซูล(Capsule) เป็นส่วนที่อยู่นอกเซลล์เป็นสารประกอบพวกพอลิแซคาไรด์และพอลิเพปไทด์ แคปซูลทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด เช่น โรคปอดบวม โรคแอนแท็รกซ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ แบคทีเรียท่อต่อสภาพแวดล้อมและการทำลายเม็ดเลือดขสวได้ดีขึ้น

10. สปอร์(Spore) ของแบคทีเรียเรียกว่า เอนโดสปอร์(Endospore) จะสร้างเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ขาดแคลนอาหาร สปอร์ของแบคทีเรียจะทนทานต่อสภาพต่างๆได้ดี แบคทีเรียจะสร้างสปอร์ได้เพียง 1 สปอร์เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ของแบคทีเรียแต่ถือว่า เป็นการดำรงชีพมากกว่า




ภาวะแห้งแล้ง หรือภัยแล้ง หมายถึง สภาวะที่ขาดแคลนปริมาณน้ำฝน อย่างผิดปกติจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป และเกิดครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เป็นผลสืบเนื่องมาจากปริมาณฝนตกในช่วงต้นปีที่ผ่านมาน้อยกว่าปกติทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนนน้ำ สำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง คือช่วงธันวาคม-เมษายน อย่างรุนแรง ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยตรง
เมื่อหมดฤดูนาปีแล้ว จำเป็นต้องให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง ในส่วนที่ทำได้ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผักต่าง ๆ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผักต่าง ๆ ซึ่งพืชไร่อายุสั้นเหล่านี้ใช้น้ำน้อยเพียง 300-400 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาข้าวจะใช้น้ำถึง 5 เท่า คือ 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่
แต่การปลูกพืชอายุสั้นนั้น การเตรียมดินจะยุ่งยาก เนื่องจากดินนาส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว การระบายน้ำค่อนข้างเลว จึงต้องเตรียมดินให้ร่วนแล้วทำร่องช่วยระบายน้ำแและเป็นการเพิ่มความลึกของหน้าดิน หากระบายน้ำออกไม่ได้หรือน้ำยังท่วมขัง ไม่ควรปลูกพืชอายุสั้นใด ๆ

http://bababoo.212cafe.com/archive/2008-09-04/2-300400-5-15002000-15-15-1-5-14-7-14-7-21-14-7080-1-6070-2-6575-4-60-95100-2301-110120-90100-1-2-3-/

กลูโคส (อังกฤษ: Glucose ; ย่อ: Glc) เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (metabolic intermediate) กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น